การพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่กับการทำเกษตรกรรมในโรงเรือน (Greenhouse) จากแนวคิดนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีน
การพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ควบคู่กับการทำเกษตรกรรม ในโรงเรือน (Greenhouse) จากแนวคิดนโยบายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย นางสาวจารุวรรณ พิพัฒน์พุทธพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ สำนักพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ปัจจุบันสาธารณรัฐประชาชนจีนใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักเพื่อการผลิตพลังงานบริโภคภายในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.2 ของการบริโภคพลังงานรวมโดยปี 2014 จีนมีบริโภคพลังงานขั้นต้นรวมทั้งสิ้นประมาณ 4.26 ล้านตันของถ่านหินซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุด และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 5 ล้านตันในปี 2020 ทั้งนี้มาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรที่ดีขึ้นสภาพความเป็นเมืองที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและแรงกดดันด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emission) ในเวทีการประชุมระดับนานาชาติรวมถึงความถี่การเกิดภัยพิบัติที่เพิ่มขึ้นได้สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมากแก่ประเทศ ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังกล่าวท าให้ประเทศจีนปรับนโยบายด้านพลังงานโดยอยู่บนหลักการ 2R คือ การทดแทนด้วยพลังงานรูปแบบอื่นๆ (Replace) การลดปริมาณการใช้พลังงาน (Reduce)
ในบทความนี้จะนำเสนอหลักการของนโยบายพลังงานเพียง R เดียว นั่นคือ Replace การทดแทนด้วยพลังงานรูปแบบอื่น ๆ สามารถดำเนินการในหลากหลายกลยุทธ์ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีสะอาดอย่างเต็มรูปแบบ(Clean technology) เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่นำมาใช้สำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรมเพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ด้วยการควบคุมมลพิษและของเสียที่แหล่งก าเนิดน้อยที่สุดหรือไม่มีเลยดังนั้น หนึ่งในนโยบายสำคัญของแผนนี้ คือ รัฐบาลจีนต้องการกระตุ้นการสร้างความสามารถการแข่งขันทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสะอาดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาธุรกิจการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์และกังหันลมในประเทศได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาสินค้าล้นตลาดทำให้ผู้ประกอบการจีนพยายามมองหาตลาดใหม่ๆ ที่จะเป็นการขยายโอกาสทางธุรกิจเพื่อต่อยอดการใช้งานในภาคธุรกิจอื่นมากขึ้นซึ่งธุรกิจเกษตรเป็นเป้าหมายลำดับต้นๆของผู้ประกอบการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพราะพื้นที่และประชากรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
แนวคิดการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา ร่วมกับการทำเกษตรกรรมในโรงเรือน (Greenhouse) สามารถผลิตพลังงานได้ทั้งรูปแบบความร้อนและพลังงานไฟฟ้า ซึ่งรูปแบบการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าบนหลังคาโรงเรือนกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในสาธารณรัฐประชาชนจีนจากข้อมูล สถานการณ์ตลาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้าในภาคเกษตร (PV agricultural market) มีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีมากกว่าร้อยละ 200 โดยปี 2015 มีขยายตัวสูงถึงประมาณ 2.6 GW คิดเป็นมูลค่าประมาณ 24.7 พันล้านหยวน หรือประมาณ 47.5 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์และภายใต้การดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับล่าสุดที่มุ่งส่งเสริมการลงทุนให้นำพลังงานทดแทน มาใช้ใ นภาคอุตสาหกรรมอื่นเพิ่มมากขึ้นคาดว่าอีก 5 ปีข้างหน้าจะส่งผลให้มีการขยายตัวของตลาดเพิ่มสูงขึ้นถึง7.8GW คิดเป็นมูลค่า
เอกสารอ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Geography_of_Thailand#Climate
Al-Shamiry, F.M.S. และคณะ , 2550. Design and development of a photovoltaic power system for tropical greenhouse cooling. American Journal of Applied Sciences. Volume 4, Issue6, 2007, Pages 386-389China’s 13th Five-Year Plan Opportunities for Finnish Companies, 2016. The Economist CorporateNetwork
Gundula Proksch, 2017. Creating Urban Agricultural Systems: An Integrated Approach to Design
Reda Hassanien Emam Hassanien แล ะคณะ, 2016. Advanced applications of solar energy in
agricultural greenhouses. Renewable and Sustainable Energy Reviews 54 (2016) 989–1001.
Peng Peng, 2017. Presentation “Global PV Policy & Market Outlook” on 15 January 2017 of
APEC Low Carbon Model Town Solar Photovoltaic Agricultural Development Mode
Study meeting.